-

@ GaLoM ₿maxi
2025-05-13 10:28:33
Alt+Tab on Stage x Saifedean Ammous
13 May 2025
1. จุดเริ่มต้นสู่บิตคอยน์
-เดิม Saifedean เป็นอาจารย์เศรษฐศาสตร์
ซึ่งสอนแบบ Keynesian economy
-เริ่มสนใจบิตคอยน์เพราะราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง
-จุดเปลี่ยนคือการเห็นการลงทุนจริงจังในเครื่อง ASIC ทำให้เชื่อว่าบิตคอยน์ “มีของจริง”
-มองว่า Proof of Work คือสิ่งที่ทำให้บิตคอยน์ “เปลี่ยนโลก” ไม่ใช่แค่ซอฟต์แวร์ที่แก้ไขได้ง่าย
2. จากนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักสู่แนวออสเตรีย
-เข้าสู่ Austrian Economics ช่วงวิกฤตปี 2008 โดยเริ่มจากอ่าน Hayek → Mises, ตอนนั้นกำลังเรียน PhD
-พบว่าเศรษฐศาสตร์ออสเตรียอธิบายโลกจริงได้ดีกว่า Keynesian ซึ่งมุ่งเน้นแต่การพิมพ์เงิน
-ระหว่างสอนในมหาวิทยาลัย เขาใช้เวลาแอบสอดแทรกแนวคิดออสเตรียให้กับนักศึกษา
3. มุมมองต่อ "เงิน" และ “รัฐ”
-เงินไม่จำเป็นต้องมีรัฐบาลมารับรองจึงจะใช้ได้
-ในประวัติศาสตร์ เงินเกิดจากตลาดเลือก (เช่น ทองคำ) ไม่ใช่รัฐประกาศ
-การควบคุมเงินโดยรัฐสร้างผลเสียมากมาย เช่น เงินเฟ้อ การบิดเบือนราคา และการลดคุณค่าของการออม
4. ประสบการณ์กับระบบ “Sustainable Development”
-เคยเรียนปริญญาโทด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
-พอทำวิจัยเรื่อง biofuel กลับพบว่าระบบนี้เต็มไปด้วยการหลอกลวงและผลประโยชน์ของธุรกิจใหญ่
-ทำให้เริ่มตั้งคำถามกับ "ศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อม" ว่าจริง ๆ แล้วเป็นข้ออ้างเพื่อเก็บภาษีและควบคุมประชาชน
5. ชีวิตหลังเขียนหนังสือ The Bitcoin Standard
-ลาออกจากมหาวิทยาลัย และเริ่มสอนเองออนไลน์ผ่านเว็บไซต์
-มองว่าโลกวิชาการมักตีพิมพ์งานที่ไม่มีใครอ่านหรือใช้ได้จริง
-ขอบคุณบิตคอยน์ที่เปิดโอกาสให้หลุดจากวงจรวิชาการและ “กลับมาอยู่กับตลาดจริง”
6. ความสำคัญของ “การออม” และ “ทุน”
-สังคมที่มีการออมสูงคือสังคมที่สามารถลงทุนได้จริง
-ระบบเฟียตบ่อนทำลายวัฒนธรรมการออม → ทำให้ผู้คนใช้จ่ายแบบเดือนชนเดือน
-เปรียบเทียบการลงทุนอย่างไร้ประสิทธิภาพเหมือนไปสุ่มคนทั่วไปในกรุงเทพ 50,000 คนมาช่วยกันสร้างเครื่องบิน แทนที่จะจ้างวิศวกร 200 คนที่มีความสามารถจริง คุณจะเลือกขึ้นเครื่องบินของใคร
7. Tether (USDT) และบทบาทต่อระบบการเงิน
-เดิมไม่เชื่อว่า Tether จะอยู่รอดได้ แต่เมื่อมันผ่านวิกฤตใหญ่หลายครั้ง (Luna, FTX ฯลฯ) ก็ต้องยอมรับ
-เสนอแนวคิดว่า ในอนาคต Tether อาจเปลี่ยนจากผูกกับ USD ไปผูกกับ BTC หากบิตคอยน์มีมูลค่ามากกว่าทุนดอลลาร์
-มองว่า Tether ไม่ได้สร้างความต้องการใหม่ให้กับดอลลาร์ แต่อาจแย่ง demand จากธนาคารกลางประเทศอื่น
8. ยุคทองของนวัตกรรมเกิดในยุคทองคำ ไม่ใช่เฟียต
-เทคโนโลยีสำคัญ (เครื่องบิน, โทรศัพท์, รถไฟ, X-ray ฯลฯ) ส่วนใหญ่เกิดในช่วงปี 1870–1914 ซึ่งเป็นยุคของมาตรฐานทองคำ
-หลังสงครามโลก รัฐกลับมาควบคุมระบบการเงิน → เริ่มเข้าสู่ยุคเสื่อมถอยของนวัตกรรม
-ปัจจุบันนวัตกรรมต่อประชากรลดลง IQ ลดลง และผู้คนพึ่งรัฐมากขึ้น
9. Fiat system ทำลายอารยธรรมอย่างไร
-หนังสือ Principles of Economics ของเขา อธิบายว่าสถาบันต่าง ๆ เช่น:
แรงงาน, ทรัพย์สิน, การผลิต, การค้า, เงิน
ล้วนถูกทำลายหรือบิดเบือนด้วย “เงินเฟียต” ที่ถูกควบคุมโดยรัฐบาล
-ถ้าไม่มี “เงินที่ดี” เราก็ไม่สามารถมีสังคมสมัยใหม่ได้ เพราะจะไม่สามารถคำนวณ เปรียบเทียบ และวางแผนทางเศรษฐกิจได้อย่างแม่นยำ
10. บิตคอยน์คือทางรอดของอารยธรรม
-หากไม่มีบิตคอยน์ เขาบอกว่า "คงรู้สึกสิ้นหวังกับอนาคตของมนุษย์"
-แต่เพราะมีบิตคอยน์ จึงมีความหวังว่าเราจะ “ค่อย ๆ” เปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบที่ดีขึ้น
-บิตคอยน์ไม่ได้มาทดแทนทันทีเมื่อระบบ Fiat ล่ม แต่จะค่อย ๆ ขยายส่วนแบ่งตลาด จนระบบเก่าไร้ความสำคัญไปเอง
#siamstr
https://image.nostr.build/cb70ba65d411acf0aa7a03b27b96217b31ebd6ae3716046842da4698b355a712.jpg