-
@ HereTong
2025-05-05 07:36:59แค่ลดการ spike แต่ไม่ได้หายไปไหน เฮียขอเล่าเรื่องผับ... ไม่ใช่ผับที่มีไฟสลัว ๆ เสียงเบสแน่น ๆ หรอกนะ แต่เป็น “ผับร่างกาย” ที่เปิดประตูรับแขกชื่อ “น้ำตาล” เข้าไปทุกวันแบบไม่รู้ตัว
ในโลกของสุขภาพ น้ำตาลก็เหมือนวัยรุ่นที่ชอบเข้าไปในผับหลังมืดค่ำทุกคืน ส่วน อินซูลิน ก็คือพีอาร์หน้าผับ มีหน้าที่เปิดประตูให้เด็กพวกนี้เข้าไปในเซลล์ พอวัยรุ่นแห่มาพร้อมกัน อินซูลินก็ต้องเร่งเปิดประตูรัว ๆ นั่นแหละที่เขาเรียกกันว่า insulin spike
หลายคนรู้ว่า spike บ่อย ๆ ไม่ดี เลยพยายามหาวิธี “ลด spike” บางคนดื่มน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ล (ACV) บางคนกินผักใยสูงก่อนอาหาร บางคนจัดซุปใส่ไฟเบอร์แบบคุม ๆ มาเสริม เฮียบอกเลยว่า “ดี” อยู่ครับ... แต่ หลายคนเข้าใจว่า การลด spike เท่ากับการลดน้ำตาล จริง ๆ แล้วน้ำตาลไม่ได้หายไปไหนเลย มันแค่ เดินเข้าช้าลงเท่านั้นเอง
ลองนึกภาพตามนะเฮียจะเล่าให้ฟัง...เอาแบบเห็นภาพร่างนะ เปรียบเปรยเปรียบเปรย
ผับเปิด... วัยรุ่นต่อแถว ทุกครั้งที่เรากินคาร์บ โดยเฉพาะแป้งหรือของหวาน ร่างกายก็จะแปลงมันเป็นกลูโคส หรือน้ำตาลในกระแสเลือด เจ้ากลูโคสเหล่านี้ก็จะมาต่อแถวเข้า “ผับเซลล์” พอคนเยอะ อินซูลินก็ต้องออกมาทำงานหนัก พาแต่ละคนเข้าไปจัดสรรให้เรียบร้อย ทีนี้ถ้าน้ำตาลมาก และมาพร้อมกัน อินซูลินก็ต้อง “spike” คือพุ่งขึ้นเพื่อจัดการด่วน ซึ่งถ้าร่างกายทำแบบนี้บ่อย ๆ ไม่ดีเลย เพราะมันทำให้ระบบเสื่อม เกิด ภาวะดื้ออินซูลิน นึภภาพพนักงานทำงานกันแบบ ปาร์ตี้คืนวันสงกรานต์ในผับย่าน อาร์ซีเอ หรือข้าวสาร สุดท้ายก็มักนำไปสู่เบาหวาน ความอ้วน และความเสื่อมแบบค่อยเป็นค่อยไป
ACV, ไฟเบอร์ช่วยไหม? ช่วย แต่ไม่ได้ลดน้ำตาล เทคนิคกินผักก่อน กินน้ำส้มสายชู หรือเพิ่มไฟเบอร์สูง ๆ ก่อนคาร์บ มันช่วย ชะลอการดูดซึม ของน้ำตาลจริง ๆ เหมือนกับมีการ์ดหน้าผับมาตรวจบัตรก่อนเข้าทีละคน แถวมันเลยไม่กรูกันเข้าแบบม็อบ แต่มาเรื่อย ๆ ทีละคน ๆ พีอาร์หน้าประตูก็จัดการระบบได้เบาแรงขึ้น
ฟังดูดีใช่ไหม? ใช่... แต่ ไม่ได้แปลว่าวัยรุ่นเหล่านั้นจะไม่เข้าผับ สุดท้าย พวกเขาก็เข้าไปครบเหมือนเดิมอยู่ดี นั่นคือ ร่างกายก็ยังได้รับน้ำตาลเท่าเดิมนั่นแหละ ... แค่เข้าช้าลงเท่านั้น
แล้วมันดีตรงไหนล่ะ ถ้ามันไม่ได้ลดน้ำตาล? มันดีตรงที่ spike จะไม่พุ่งเร็ว พอชะลอได้ อินซูลินก็ไม่ต้องทำงานแบบโหม ซึ่งในระยะสั้น มันช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่แกว่งจัดเกินไป ดีต่อสมอง ไม่ทำให้ง่วงหลังมื้ออาหาร
แต่ถ้าเรายังเลือกกินอาหารที่แปลงเป็นน้ำตาลเยอะ ๆ อยู่ดี แม้จะกินช้าลง ยังไงน้ำตาลก็สะสม เหมือนวัยรุ่นที่เข้าผับช้าลง แต่จำนวนก็เท่าเดิม เฮียว่าเราควรหันมาถามตัวเองว่า...
แล้วเราจะเปิดผับให้ใครบ้างดีล่ะ? การจัดการ spike ที่ดีที่สุดไม่ใช่แค่ “ชะลอ” แต่คือ “ลดปริมาณกลูโคสตั้งแต่ต้นทาง” เลือกกินของที่ไม่สร้างน้ำตาลพรึ่บพรั่บ เช่น real food ที่มีไขมันดีและโปรตีนสูง อย่างไข่ เนื้อสัตว์ เครื่องใน น้ำมันสัตว์ น้ำมันสกัดเย็นที่มีทั้งพฤกษเคมีและพลังงานที่ดี ฯลฯ ซึ่งเป็นการบริหารซอย จำกัดจำนวนนักเที่ยวแต่แรก เพราะพวกนี้ไม่พาน้ำตาลมากองหน้าประตูเหมือนขนมปังโพรเซส น้ำหวานจัดๆ หรือเค้กแป้งขัดสีน้ำตาลครีมเยอะๆ
เห็นไหมว่า เฮียไม่ได้บอกให้เลิกกินของอร่อยเลยนะ แต่จะบอกว่า... ถ้าเราเข้าใจว่า การลด spike ไม่ใช่การลดน้ำตาล เราจะวางแผนกินได้ดีกว่าเดิมเยอะ
การลด spike อินซูลินด้วยไฟเบอร์หรือ ACV เป็นวิธี ช่วยผ่อนแรง ให้ร่างกาย แต่ไม่ใช่การ “ลดปริมาณน้ำตาลที่เข้าสู่ร่างกาย” น้ำตาลยังคงเข้าเท่าเดิม และถ้าทำแบบนี้ทุกวัน ทุกมื้อ ก็เหมือนเปิดผับรับวัยรุ่นทุกคืน ต่อให้เข้าช้า แต่ก็ยังเข้าครบอยู่ดี
ถ้าอยากมีสุขภาพดีจริง ๆ ไม่ใช่แค่ใส่การ์ดคอยคุม แต่ต้องคัดตั้งแต่ต้นซอยเลยว่าซอยนี้เข้าได้แค่ไหนตั้งแต่แรก ถ้าแข็งแรงซอยใหญ่แบบทองหล่อทั้งซอย ก็รับนักเที่ยวได้มาก ถ้าป่วย ซอยเล็กแบบซอยแจ่มจันทร์ ก็รับนักเที่ยวได้น้อย ระหว่างนี้ถ้าอยากจะขยายซอยเปิดรับนักเที่ยว คุณจะคุมสารอาหาร ออกกำลังกาย ตากแดด พักผ่อน ยังไงก็เรื่องของคุณแล้ว เลือกตามจริต
เลือกกินแบบรู้ต้นทาง... อินซูลินจะได้พัก ร่างกายจะได้หายใจและสุขภาพเราจะได้แข็งแรงแบบไม่ต้องเหนื่อยกับการควบคุมทีละมื้อทุกวัน และจงจำไว้เสมอว่า ร่างกายนั้นเป็นความสัมพันธ์อันลึกล้ำพัวพันยิ่งกว่า threesome หลายเท่าตัว ยิ่งศึกษาจะยิ่งรู้ว่า การมองเพียงจุดใดจุดหนึ่งคือความผิดพลาดแบบไม่รู้ตัวได้ง่ายๆเลยครับ ดังนั้นจึงเห็นว่า เราควรแยกเรื่องของการ "ลดการ spike" ออกจาก "ลดปริมาณน้ำตาลเข้าร่าง" เพราะมันแค่ชะลอแต่ไม่ได้ทำให้ที่กินเข้าไปหายไปไหน
ร่างกายมันเก่งนะครับ คุณคิดว่าลักไก่มันง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ
พักเรื่องน้ำมันไว้วันนึง พอดีมีคนถามต่อเนื่องมาจาก ACV #pirateketo #กูต้องรู้มั๊ย #ม้วนหางสิลูกแค่ลดการ spike แต่ไม่ได้หายไปไหน เฮียขอเล่าเรื่องผับ... ไม่ใช่ผับที่มีไฟสลัว ๆ เสียงเบสแน่น ๆ หรอกนะ แต่เป็น “ผับร่างกาย” ที่เปิดประตูรับแขกชื่อ “น้ำตาล” เข้าไปทุกวันแบบไม่รู้ตัว
ในโลกของสุขภาพ น้ำตาลก็เหมือนวัยรุ่นที่ชอบเข้าไปในผับหลังมืดค่ำทุกคืน ส่วน อินซูลิน ก็คือพีอาร์หน้าผับ มีหน้าที่เปิดประตูให้เด็กพวกนี้เข้าไปในเซลล์ พอวัยรุ่นแห่มาพร้อมกัน อินซูลินก็ต้องเร่งเปิดประตูรัว ๆ นั่นแหละที่เขาเรียกกันว่า insulin spike
หลายคนรู้ว่า spike บ่อย ๆ ไม่ดี เลยพยายามหาวิธี “ลด spike” บางคนดื่มน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ล (ACV) บางคนกินผักใยสูงก่อนอาหาร บางคนจัดซุปใส่ไฟเบอร์แบบคุม ๆ มาเสริม เฮียบอกเลยว่า “ดี” อยู่ครับ... แต่ หลายคนเข้าใจว่า การลด spike เท่ากับการลดน้ำตาล จริง ๆ แล้วน้ำตาลไม่ได้หายไปไหนเลย มันแค่ เดินเข้าช้าลงเท่านั้นเอง
ลองนึกภาพตามนะเฮียจะเล่าให้ฟัง...เอาแบบเห็นภาพร่างนะ เปรียบเปรยเปรียบเปรย
ผับเปิด... วัยรุ่นต่อแถว ทุกครั้งที่เรากินคาร์บ โดยเฉพาะแป้งหรือของหวาน ร่างกายก็จะแปลงมันเป็นกลูโคส หรือน้ำตาลในกระแสเลือด เจ้ากลูโคสเหล่านี้ก็จะมาต่อแถวเข้า “ผับเซลล์” พอคนเยอะ อินซูลินก็ต้องออกมาทำงานหนัก พาแต่ละคนเข้าไปจัดสรรให้เรียบร้อย ทีนี้ถ้าน้ำตาลมาก และมาพร้อมกัน อินซูลินก็ต้อง “spike” คือพุ่งขึ้นเพื่อจัดการด่วน ซึ่งถ้าร่างกายทำแบบนี้บ่อย ๆ ไม่ดีเลย เพราะมันทำให้ระบบเสื่อม เกิด ภาวะดื้ออินซูลิน นึภภาพพนักงานทำงานกันแบบ ปาร์ตี้คืนวันสงกรานต์ในผับย่าน อาร์ซีเอ หรือข้าวสาร สุดท้ายก็มักนำไปสู่เบาหวาน ความอ้วน และความเสื่อมแบบค่อยเป็นค่อยไป
ACV, ไฟเบอร์ช่วยไหม? ช่วย แต่ไม่ได้ลดน้ำตาล เทคนิคกินผักก่อน กินน้ำส้มสายชู หรือเพิ่มไฟเบอร์สูง ๆ ก่อนคาร์บ มันช่วย ชะลอการดูดซึม ของน้ำตาลจริง ๆ เหมือนกับมีการ์ดหน้าผับมาตรวจบัตรก่อนเข้าทีละคน แถวมันเลยไม่กรูกันเข้าแบบม็อบ แต่มาเรื่อย ๆ ทีละคน ๆ พีอาร์หน้าประตูก็จัดการระบบได้เบาแรงขึ้น
ฟังดูดีใช่ไหม? ใช่... แต่ ไม่ได้แปลว่าวัยรุ่นเหล่านั้นจะไม่เข้าผับ สุดท้าย พวกเขาก็เข้าไปครบเหมือนเดิมอยู่ดี นั่นคือ ร่างกายก็ยังได้รับน้ำตาลเท่าเดิมนั่นแหละ ... แค่เข้าช้าลงเท่านั้น
แล้วมันดีตรงไหนล่ะ ถ้ามันไม่ได้ลดน้ำตาล? มันดีตรงที่ spike จะไม่พุ่งเร็ว พอชะลอได้ อินซูลินก็ไม่ต้องทำงานแบบโหม ซึ่งในระยะสั้น มันช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่แกว่งจัดเกินไป ดีต่อสมอง ไม่ทำให้ง่วงหลังมื้ออาหาร
แต่ถ้าเรายังเลือกกินอาหารที่แปลงเป็นน้ำตาลเยอะ ๆ อยู่ดี แม้จะกินช้าลง ยังไงน้ำตาลก็สะสม เหมือนวัยรุ่นที่เข้าผับช้าลง แต่จำนวนก็เท่าเดิม เฮียว่าเราควรหันมาถามตัวเองว่า...
แล้วเราจะเปิดผับให้ใครบ้างดีล่ะ? การจัดการ spike ที่ดีที่สุดไม่ใช่แค่ “ชะลอ” แต่คือ “ลดปริมาณกลูโคสตั้งแต่ต้นทาง” เลือกกินของที่ไม่สร้างน้ำตาลพรึ่บพรั่บ เช่น real food ที่มีไขมันดีและโปรตีนสูง อย่างไข่ เนื้อสัตว์ เครื่องใน น้ำมันสัตว์ น้ำมันสกัดเย็นที่มีทั้งพฤกษเคมีและพลังงานที่ดี ฯลฯ ซึ่งเป็นการบริหารซอย จำกัดจำนวนนักเที่ยวแต่แรก เพราะพวกนี้ไม่พาน้ำตาลมากองหน้าประตูเหมือนขนมปังโพรเซส น้ำหวานจัดๆ หรือเค้กแป้งขัดสีน้ำตาลครีมเยอะๆ
เห็นไหมว่า เฮียไม่ได้บอกให้เลิกกินของอร่อยเลยนะ แต่จะบอกว่า... ถ้าเราเข้าใจว่า การลด spike ไม่ใช่การลดน้ำตาล เราจะวางแผนกินได้ดีกว่าเดิมเยอะ
การลด spike อินซูลินด้วยไฟเบอร์หรือ ACV เป็นวิธี ช่วยผ่อนแรง ให้ร่างกาย แต่ไม่ใช่การ “ลดปริมาณน้ำตาลที่เข้าสู่ร่างกาย” น้ำตาลยังคงเข้าเท่าเดิม และถ้าทำแบบนี้ทุกวัน ทุกมื้อ ก็เหมือนเปิดผับรับวัยรุ่นทุกคืน ต่อให้เข้าช้า แต่ก็ยังเข้าครบอยู่ดี
ถ้าอยากมีสุขภาพดีจริง ๆ ไม่ใช่แค่ใส่การ์ดคอยคุม แต่ต้องคัดตั้งแต่ต้นซอยเลยว่าซอยนี้เข้าได้แค่ไหนตั้งแต่แรก ถ้าแข็งแรงซอยใหญ่แบบทองหล่อทั้งซอย ก็รับนักเที่ยวได้มาก ถ้าป่วย ซอยเล็กแบบซอยแจ่มจันทร์ ก็รับนักเที่ยวได้น้อย ระหว่างนี้ถ้าอยากจะขยายซอยเปิดรับนักเที่ยว คุณจะคุมสารอาหาร ออกกำลังกาย ตากแดด พักผ่อน ยังไงก็เรื่องของคุณแล้ว เลือกตามจริต
เลือกกินแบบรู้ต้นทาง... อินซูลินจะได้พัก ร่างกายจะได้หายใจและสุขภาพเราจะได้แข็งแรงแบบไม่ต้องเหนื่อยกับการควบคุมทีละมื้อทุกวัน และจงจำไว้เสมอว่า ร่างกายนั้นเป็นความสัมพันธ์อันลึกล้ำพัวพันยิ่งกว่า threesome หลายเท่าตัว ยิ่งศึกษาจะยิ่งรู้ว่า การมองเพียงจุดใดจุดหนึ่งคือความผิดพลาดแบบไม่รู้ตัวได้ง่ายๆเลยครับ ดังนั้นจึงเห็นว่า เราควรแยกเรื่องของการ "ลดการ spike" ออกจาก "ลดปริมาณน้ำตาลเข้าร่าง" เพราะมันแค่ชะลอแต่ไม่ได้ทำให้ที่กินเข้าไปหายไปไหน
ร่างกายมันเก่งนะครับ คุณคิดว่าลักไก่มันง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ
พักเรื่องน้ำมันไว้วันนึง พอดีมีคนถามต่อเนื่องมาจาก ACV #pirateketo #กูต้องรู้มั๊ย #ม้วนหางสิลูก #siamstr